วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ช้างเผือก



ช้างเผือก
ช้างเผือก คือช้างที่มีลักษณะต่างจากช้างธรรมดาทั่วไป ด้วยมีสีผิว นัยน์ตา และเล็บขาว จัดได้ว่ามีลักษณะที่หาได้ยาก จึงเป็นที่เชื่อกันว่าช้างเผือกเป็นสัตว์ที่เป็นมงคลให้แก่ผู้ที่เป็นเจ้า ของ และเป็นเครื่องมงคลชนิดหนึ่งในสัปตรัตนะแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ ได้แก่ จักรแก้ว ช้างแก้ว (ช้างเผือก ชื่อ อุโบสถ) ม้าแก้ว มณีแก้ว นางแก้ว คฤหบดีแก้ว และ ปรินายกแก้ว
พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ช้างสำคัญในรัชกาลที่ 9
ตามความหมายในพระราชบัญญัติสำหรับรักษาช้างป่า พระพุทธศักราช 2464 ในสมัยรัชกาลที่ 6 กำหนดช้างซึ่งมีลักษณะพิเศษไว้ 3 ชนิด ตามมาตรา 4 ระบุไว้ว่า

* "ช้างสำคัญ" มีคชลักษณะ 7 ประการ คือ ตาขาว เพดานขาว เล็บขาว ขนขาว พื้นหนังขาวหรือสีคล้ายหม้อใหม่ ขนหางขาว อัณฑโกศขาวหรือคล้ายสีหม้อใหม่
* "ช้างสีประหลาด" คือ ช้างที่มีมงคลลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่งใน 7 อย่างที่กำหนดไว้ในคชลักษณะของช้างสำคัญ
* "ช้างเนียม" มีลักษณะ 3 ประการ คือ พื้นหนังดำ งามีลักษณะดังรูปปลีกล้วย เล็บดำ พระราชบัญญัติสำหรับรักษาช้างป่า พระพุทธศักราช 2464 นี้ไม่มีชนิดใดเรียกว่าช้างเผือก แต่คนไทยทั่วไปคุ้นเคยกับคำว่า "ช้างเผือก" เมื่อเจ้าหน้าที่บ้านเมืองทราบว่ามีช้างเผือก ณ ที่ใด จะกราบบังคมทูลให้ทรงทราบ เพื่อโปรดเกล้าฯ ให้ผู้เชี่ยวชาญการดูคชลักษณ์ไปตรวจดูอีกครั้ง โดยต้องคำนึงถึงลักษณะอันเป็นมงคลอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น เวลาที่ช้างหลับ ถ้ามีเสียงกรนประดุจเสียงแตรสังข์ถือว่าเป็นมงคล ถ้าเสียงกรนคล้ายคนร้องไห้ถือว่าเป็นอัปมงคล แม้จะมีคชลักษณ์สมบูรณ์ก็ตาม
นอกจากนี้ยังมีตำราคชลักษณ์กล่าวว่า การดูลักษณะช้าง ให้พึงพิจารณาลักษณะ 10 ประการ คือ ขน หาง จักษุ เล็บ อัณฑโกศ ช่องแมงภู่ ขุมขน เพดาน สนับงา ข้างในไรเล็บ ถ้าต้องกับสีกาย เป็นศุภลักษณะใช้ได้ ถ้านับสีกายด้วยก็เป็น 11 ประการ
เขียนโดย kapang ที่ 15:43

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น