วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

แนะนำตัวเอง


ชื่อ นางสาว นารีรัตน์ ชาญประเสริฐ
50011313295 Pa
วิทยาลัยการเมืองการปกครอง
มห่วิทยาลัยมหาสารคาม

ช้าง (Elephant)



ช้างไทย
ประวัติช้างไทย
ช้างไทยเป็นสัตว์ประจำชาติไทย และเป็นที่สำคัญต่อพระพุทธศาสนา และประเทศไทยยังเคยมี
ธงชาติที่ประทับลายช้างเผือกไว้ด้วย
ถ้าพูดถึงในสมัยก่อนนั้น ช้างมีความสำคัญมากในด้านการศึก ด้านการทำสงคราม ช้างทำให้ ขุนนางได้เลื่อนยศมามากคนแล้ว และคนไทยเราก็นิยมในช้างเผือก ซึ่งเป็นช้างของกษัตริย์ ซึ่งมีลักษณะสวยงามมาก แต่ว่าหาได้ยากมาก ซึ่งในการศึก ช้างจะเป็นพาหนะของแม่ทัพ ซึ่งจะมีการศึกบนหลังหลังช้าง เรียกว่า ยุทธหัตถี ถือเป็นการสู้ที่มีเกียรติมาก
เขียนโดย kapang ที่ 15:47

ลักษณะของช้าง

ลักษณะและธรรมชาติของช้าง
ช้างเป็นสัตว์บกที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เป็นสัตว์แข็งแรงมีกำลังมาก มีขาใหญ่ 4 ขา พื้นเท้าอ่อนนุ่มเมื่อช้างเดินจึงไม่ใคร่ไดยินเสียง ส่วนการนอนของช้างนั้นโดยธรรมชาติแล้ว ช้างจะนอนตะแคงตัวลำตัวกับพื้น และมีการหาวนอนและนอนกรนเช่นเดียวกับมนุษย์ ตามปกติช้างจะนอนหลับในระยะเวลาสั้น เพียง 3-4 ชั่วโมง เวลานอนอยู่ในระหว่างเวลา 23.00 นาฬิกาถึง 03.00นาฬิกา ช้างไม่นอนกลางวันนอกจากมีอาการไม่สบาย
งวงช้างคือ จมูกของช้าง ยาวถึงพื้น ใช้หายใจและจับดึงยกลากสิ่งของต่าง ๆ ได้ และใช้หยิบอาการเข้าปาก ปลายงวงมีรูสองรู กลวงตลอดความยาวงวงช้าง งวงช้างไม่มีกระดูกอยู่ภาพใน จึงอ่อนไหวและแกว่งไปมาได้ง่าย งวงนี้ใช้อมน้ำและพ่นน้ำเล่นได้ เมื่อช้างจะดื่มน้ำจะใช้งวงดูดน้ำข้าไปเก็บไวในงวงก่อนแล้ว งพ่นน้ำจากงวงเข้าในปากอีกทีหนึ่งงาช้างเป็นสิ่ง ที่สวยงามและมีราคามากที่สุดในตัวช้าง งาช้างก็คือฟันหน้าหรือเขี้ยวของช้าง งอกออกจากขากรรไกรบนข้างละอัน งาช้างทั้งคู่มีสีขาวนวล เริ่มโผล่ใหเห็นเมื่อมีอายุประมาณ 2-5 ปี งาช้างที่สวยงามจะต้องมีความโค้งเรียบสม่ำเสมอจนเกือบเป็นรูปครึ่งวงกลม ช้างใช้งาเป็นอาวุธป้องกันตัวต่อสู่กับสัตว์ร้าย นัยน์ตาช้างมีตาเล็กมาก เมื่อเทียบกับรูปร่างอันสูงใหญ่ แต่ก็สามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้ชัดเจนดี และเห็นไดแต่ไกลใบหู
มีลักษณะคล้ายพัด โบกไปมาอยู่เสมอ เมื่อช้างกางใบหูออกจะได้ยินเสียงจากที่ไกล ๆ ได้ดีขึ้น ช้างที่มีอายุมากใบหูจะม้วนลงมาและขอบล่างมักเว้าแหว่ง การเว้าแหว่งของขอบล่างใบหูอาจใช้คาดคะเนอายุของช้างได้อย่างคร่าว ๆ ถ้าใบหูเว้าแหว่งน้อยก็แสดงว่าอายุยังน้อย ถ้าเว้าแหว่งมากก็หมายถึงอายุมากหาง หางช้างมีลักษณะกลมยาวเรียวลงไปถึงเข่า ที่ปลายมีขนเส้นโตสีดำ ยาวประมาณ 4-6 นิ้ว เรียงเป็น 2 แถว ตลอดความยาวของหางประมาณ 6-7 นิ้ว จำนวนเล็บช้างมีนิ้วเท้าสั้นที่สุดจนเห็นแต่อุ้งเท้า มีเล็บโผล่ให้เห็นเป็นบางเล็บ ส่วนมากมี 18 เล็บ คือเท้าหน้าข้างละ 5 เล็บ เท้าหลังข้างละ 4 เล็บ บางตัวมี 16 บางตัวมี 20 เล็บ

ช้างเผือก



ช้างเผือก
ช้างเผือก คือช้างที่มีลักษณะต่างจากช้างธรรมดาทั่วไป ด้วยมีสีผิว นัยน์ตา และเล็บขาว จัดได้ว่ามีลักษณะที่หาได้ยาก จึงเป็นที่เชื่อกันว่าช้างเผือกเป็นสัตว์ที่เป็นมงคลให้แก่ผู้ที่เป็นเจ้า ของ และเป็นเครื่องมงคลชนิดหนึ่งในสัปตรัตนะแห่งพระเจ้าจักรพรรดิ ได้แก่ จักรแก้ว ช้างแก้ว (ช้างเผือก ชื่อ อุโบสถ) ม้าแก้ว มณีแก้ว นางแก้ว คฤหบดีแก้ว และ ปรินายกแก้ว
พระเศวตอดุลยเดชพาหนฯ ช้างสำคัญในรัชกาลที่ 9
ตามความหมายในพระราชบัญญัติสำหรับรักษาช้างป่า พระพุทธศักราช 2464 ในสมัยรัชกาลที่ 6 กำหนดช้างซึ่งมีลักษณะพิเศษไว้ 3 ชนิด ตามมาตรา 4 ระบุไว้ว่า

* "ช้างสำคัญ" มีคชลักษณะ 7 ประการ คือ ตาขาว เพดานขาว เล็บขาว ขนขาว พื้นหนังขาวหรือสีคล้ายหม้อใหม่ ขนหางขาว อัณฑโกศขาวหรือคล้ายสีหม้อใหม่
* "ช้างสีประหลาด" คือ ช้างที่มีมงคลลักษณ์อย่างใดอย่างหนึ่งใน 7 อย่างที่กำหนดไว้ในคชลักษณะของช้างสำคัญ
* "ช้างเนียม" มีลักษณะ 3 ประการ คือ พื้นหนังดำ งามีลักษณะดังรูปปลีกล้วย เล็บดำ พระราชบัญญัติสำหรับรักษาช้างป่า พระพุทธศักราช 2464 นี้ไม่มีชนิดใดเรียกว่าช้างเผือก แต่คนไทยทั่วไปคุ้นเคยกับคำว่า "ช้างเผือก" เมื่อเจ้าหน้าที่บ้านเมืองทราบว่ามีช้างเผือก ณ ที่ใด จะกราบบังคมทูลให้ทรงทราบ เพื่อโปรดเกล้าฯ ให้ผู้เชี่ยวชาญการดูคชลักษณ์ไปตรวจดูอีกครั้ง โดยต้องคำนึงถึงลักษณะอันเป็นมงคลอื่นๆ ประกอบด้วย เช่น เวลาที่ช้างหลับ ถ้ามีเสียงกรนประดุจเสียงแตรสังข์ถือว่าเป็นมงคล ถ้าเสียงกรนคล้ายคนร้องไห้ถือว่าเป็นอัปมงคล แม้จะมีคชลักษณ์สมบูรณ์ก็ตาม
นอกจากนี้ยังมีตำราคชลักษณ์กล่าวว่า การดูลักษณะช้าง ให้พึงพิจารณาลักษณะ 10 ประการ คือ ขน หาง จักษุ เล็บ อัณฑโกศ ช่องแมงภู่ ขุมขน เพดาน สนับงา ข้างในไรเล็บ ถ้าต้องกับสีกาย เป็นศุภลักษณะใช้ได้ ถ้านับสีกายด้วยก็เป็น 11 ประการ
เขียนโดย kapang ที่ 15:43

ช้างเอเชีย



ช้างเอเชีย
ช้างเอเชีย (Asian Elephant) จัดอยู่ในประเภทสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Elephas maximus ในวงศ์ Elephantidae มีขนาดเล็กกว่าช้างแอฟริกา (Loxodonta africana) รวมทั้งมีใบหูขนาดเล็กกว่า ตัวสีเทา จมูกยื่นยาวเรียกว่า งวง โดยงวงของช้างเอเชียจะมีเพียงจะงอยเดียว ต่างจากช้างแอฟริกาที่มี 2 จะงอย ตัวผู้มีงายาวเรียก ช้างพลาย ถ้าไม่มีงาเรียก ช้างสีดอ ในฤดูผสมพันธุ์มีอาการดุร้ายมาก ตัวเมียเรียก ช้างพัง ส่วนใหญ่ไม่มีงาปรากฏให้เห็น แต่บางตัวมีงาสั้น ๆ ซึ่งเรียกว่า ขนาย โผล่ออกมา ซึ่งงาของช้าแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. งาปลี มีลำใหญ่วัดรอบประมาณ 15 นิ้ว แต่ยาวไม่มาก

2. งาหวาย หรืองาเครือ ขนาดวัดโดยรอบประมาณ 14 นิ้ว แต่ยาวรี

ช้างเป็นสัตว์กินพืช อยู่รวมกันเป็นโขลง มีช้างพังอายุมากเป็นจ่าโขลง ช้างเอเชียส่วนใหญ่มีขนาดความสูงประมาณ 2-4 เมตร (7-12 ฟุต) และมีน้ำหนักประมาณ 3,000 - 5,000 กิโลกรัม (6,500-11,000 ปอนด์) ช้างเมื่อโตเต็มที่จะกินอาหารวันหนึ่งประมาณ 200 กิโลกรัม

ช้างเอเชีย แบ่งออกเป็น 4 สายพันธุ์ย่อย ได้ดังนี้

* ช้างศรีลังกา (E. m. maximus) จะมีรูปร่างขนาดใหญ่ ตัวสีดำ ขนาดใบหูใหญ่และมีสีกระจายมากบริเวณใบหู ใบหน้า งวงและลำตัว มักจะเป็นช้างสีดอหรือไม่มีงา เป็นช้างที่มีอยู่ในป่าตามธรรมชาติเฉพาะในเกาะซีลอนหรือเกาะลังกา ซึ่งในปัจจุบันเป็นประเทศศรีลังกาเท่านั้น ช้างเอเชียพันธุ์ศรีลังกาตัวผู้ หรือช้างพลายส่วนใหญ่จะเป็นช้างสีดอ คือไม่มีงาคงมีแต่ขนายซึ่งเป็นงาขนาดเล็กโตประมาณเท่าข้อมือ (เส้นรอบวงประมาณ 15-20 เซนติเมตร) ช้างเอเชียพันธุ์ศรีลังกาตัวผู้หรือช้างพลายมีงาน้อยมาก ส่วนตัวเมียเหมือนช้งเอเชียพันธุ์อื่นคือไม่มีงาแต่มีขนายเท่านั้น

* ช้างอินเดีย (E. m. indicus) ขนาดตัวจะเล็กกว่าชนิดแรก สีตามจุดต่างๆ จางกว่า เป็นช้างที่มีอยู่ในป่าตามธรรมชาติ บนผืนแผ่นดินใหญ่ของทวีปเอเชียได้แก่ เนปาล ภูฐาน อินเดีย พม่า ไทย ลาว เวียดนาม กัมพูชา แคว้นยูนานในประเทศจีน และมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยนั้นมีช้างเอเชียพันธุ์อินเดียกระจัดกระจายอยู่ในป่าตามธรรมชาติทั่วทุกภาคของประเทศ

* ช้างสุมาตรา (E. m. sumatranus) มีขนาดตัวเล็ก สีผิวจางมากที่สุด พบในมาเลเซีย เกาะสุมาตรา

* ช้างบอร์เนียว (E. m. borneensis) มีขนาดตัวเล็กที่สุด จนถูกเรียกว่าเป็น "ช้างแคระ" (Pygmy Elephant) พบในตอนเหนือของเกาะบอร์เนียวใกล้กับรัฐซาบาห์และกาลิมันตันของมาเลเซีย

ช้างเอเชีย จัดเป็นสัตว์ที่มนุษย์เลี้ยงไว้ใช้งานประเภทต่าง ๆ มาแต่โบราณ เช่น ใช้เป็นพาหนะ ลากซุง หรือแม้แต่ในการสงคราม โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะนับถือช้างเป็นสัตว์ชั้นสูง โดยจะปรากฏเป็นสัญลักษณ์ต่าง ๆ เช่น ธงรูปช้าง ตำราคชลักษณ์ เป็นต้น

ช้างถูกใช้ในประเพณีต่าง ๆ รวมทั้งเป็นราชพาหนะและสิ่งประดับบารมีของพระมหากษัตริย์ โดยเชื่อว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดที่มีช้างเผือกไว้ในครอบครอง ถือว่าเป็นกษัตริย์ที่มีบุญบารมี เฉกเช่น สมเด็จพระจักรพรรดิราชในคติความเชื่อทางพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท
อ้างอิง จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
* หนังสือสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน (กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2543) โดย กองทุนสัตว์ป่าโลก ISBN 974-87081-5-2
เขียนโดย kapang ที่ 15:35

ช้างแอฟริกา



ช้างแอฟริกา
ช้างแอฟริกา (อังกฤษ: Africa Elephant) จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม จากหลักฐานฟอสซิลที่ค้นพบทำให้ทราบว่า ช้างแอฟริกาอาศัยอยู่ในทวีปอเมริกามาตั้งแต่ยุคพลิโอซีน
ขนาด ตัวผู้มีความสูงในขณะยืนประมาณ 3.64 เมตร (12 ฟุต) โดยวัดจากหัวไหล่ และมีน้ำหนักประมาณ 5455 กิโลกรัม (12000 ปอนด์) ในขณะที่เพศเมียมีความสูงในขณะยืนประมาณ 3 เมตร (10 ฟุต) และมีน้ำหนักประมาณ 3636 ถึง 4545 กิโลกรัม (8000 ถึง 10000 ปอนด์)
เขียนโดย kapang ที่ 15:26

ปฎิทินฉัน